วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา

เอกสารประกอบการเรียนวิชา เทคโนโลยีการศึกษา     รหัสวิชา 1032101

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา
                ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในการขจัดข้อจำกัดของกาลเวลา และระยะทาง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ในทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
คอมพิวเตอร์ซึ่งจัดเป็นระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบสองทาง
เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการนี้ เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและเครือข่าย
                         เทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันแบบ Real-time ระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกัน
                โดยสรุปแล้วระบบโทรประชุมทางไกล หมายถึง การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็นบริการที่ให้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน โยผู้ใช้ทั้งต้นทางและปลายทางจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพ จอภาพ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ และชุดควบคุมการประชุมระหว่างจุดสองสุด จะต้องใช้อุปกรณ์สองชุดเชื่อมต่อกัน ส่วนการประชุมพร้อม ๆ กันนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ Teleconference เท่าจำนวนจุดที่ต้องการประชุมและจะต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมหลายจุด (Multi-Point Control Unit : MCU) ช่วยการตัดภาพระหว่างจุดแต่ละจุด อุปกรณ์นี้สามารถเชื่อมสัญญาณเข้าด้วยกันได้ โดยทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งภายในเครื่องเดียวกัน ส่งสัญญาณผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงหรือผ่านระบบโครงข่าย ISDN
                นอกจากนี้จากการที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน ชิน ฟันแฟร์ (Shin Fun Fair) ทำให้ได้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนยุคใหม่คือ เครือข่ายศูนย์การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม(Distance Learning via Satellite) ดำเนินงานโดย บริษัท ชิน บรอดแบรนด์ อินเตอร์เน็ต (ประเทศไทยจำกัด) นำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดของการเรียนการสอนยุคใหม่เป็นครั้งแรกใน ประเทศไทย โดยใช้โครงการเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ Ipstar หรือ Internet ความเร็วสูงผ่านดาวเทียม แบบ 2 ทาง (Interactive) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนทั้งภาพ เสียง และข้อมูล โดยเปิดโอกาสให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนจากศูนย์ iLearn ในกรุงเทพมหานคร และผู้เรียนที่อยู่ ณ ศูนย์ iLearn ในต่างจังหวัดเสมือนเรียนอยู่ในห้องเดียวกัน
รูปแบบการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board)
3. การเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้
                4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network : ALN) เป็นการเสียนการสอนที่ต้องการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ
                ลักษณะของการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนผ่าน E-Learning ประกอบด้วย
                E-Book การสร้างหนังสือหรือเอกสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประโยชน์กับระบบการเรียนการสอนบนเครือข่าย
                Virtual Lab การสร้างห้องปฏิบัติการจำลองที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาทำการทดลอง การทดลองอาจใช้วิธีการทาง simulation หรืออาจให้นักเรียนทดลองจริงตามคำแนะนำที่ให้
                Video และการกระจายแบบ Real/audio/video เป็นการสร้างเนื้อหาในรูปแบบวีดีโอ หรือบันทึกเป็นเสียงเพื่อเรียกผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                Virtual Classroom เป็นการสร้างห้องเรียนจำลองโดยใช้กระดานข่าวบนอินเตอร์เน็ตกระดานคุยหรือแม้แต่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์การเรียนรู้ผ่านเครือข่าย
                Web base training การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพจเพื่อประโยชน์การเรียนการสอน
                E-library การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบนเครือข่ายได้
                ขณะนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความสนใจกับ E-Learning ทั้งที่มีการพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อ http ://www.chulaonline.com และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้ชื่อโครงการ http ://www.ru.ac.th/learn โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ระบบ E-Learning มาเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนทางไกลที่มีอยู่ในปัจจุบัน และในต่างประเทศได้มีการพัฒนา E-Learning มาพอสมควรแล้ว เช่น Australia Department of Education , Training and Youth Affairs ภายใต้ชื่อ http ://www.detya.gov.au/ เช่นกัน
               
                สรุปได้ว่าการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคปัจจุบัน และ หลักของ E-Learning ก็คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น E-Learning จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมยุค IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ เพื่อการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ E-Learning จึงถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าปรับตัวให้ทันต่อโลกยุคไร้พรมแดน และโลกในยุคต่อ ๆ ไปที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำลงชีวิตของสังคมมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

แนวโน้มการศึกษาทางไกล
สำหรับข้อมูลในส่วนของแนวโน้มของการศึกษาทางไกล ก่อนที่จะกล่าวถึงแนวโน้มที่ได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์จากข้อมูลที่ผ่านมาในอดีตและในปัจจุบันแล้ว แหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญในอ้างอิง เพื่อให้แนวโน้มที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้านั้นมีความเชื่อถือได้ ผู้ศึกษาจึงต้องกล่าวถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา ที่ยกมาพอสังเขปดังนี้
                งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                น้ำทิพย์ สุนทรนันท (2534) แนวโน้มการพัฒนาสื่อสำหรับการศึกษาทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน (Trends of Media Development for Distance Education of  Non-formal Education Department) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวโน้มในการพัฒนาสื่อสำหรับการศึกษาทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียนในอีก 10 ปี ในด้านนโยบายการใช้สื่อการศึกษาทางไกล การบริหารและการจัดการสื่อการศึกษาทางไกล งบประมาณการสำหรับสื่อการศึกษาทางไกล ประเภทของสื่อการศึกษาทางไกล และบุคลากรด้านสื่อการศึกษาทางไกล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสำหรับการศึกษาทางไกลจำนวน 36 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นจำนวน 3 รอบ โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
                จากแนวโน้มทั้งหมด 110 ข้อ ผู้เชี่ยวชาญเห็นสมควรให้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้ 84 ข้อ แบ่งเป็น
                ด้านนโยบายการใช้สื่อการศึกษาทางไกล                                       27   ข้อ
                ด้านการบริหารและการจัดการสื่อการศึกษาทางไกล   18   ข้อ
                ด้านงบประมาณ                                                                                    7   ข้อ
                ด้านประเภทของสื่อการศึกษาทางไกล                                           27   ข้อ
                ด้านบุคลากรสื่อการศึกษาทางไกล                                                     5   ข้อ
                ณรงค์ จิตวิศรุตกุล (2535) การศึกษาการดำเนินงานตามโครงการนิเทศทางไกลของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลำปาง (A Student of the Implementation of the Project for Distance Supervision of the Office of Lampang Provincial Primary Education) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการดำเนินงานตามโครงการนิเทศทางไกลของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลำปอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด 612 คน ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ อำเภอผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้บริหารโรงเรียนและหัวหน้าศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง แบบสอบถามและแบบศึกษาเอกสาร ผลการวิจัยมีการสร้างสื่อนิเทศทางไกลประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุสื่อสารและโทรทัศน์ ส่งไปยังผู้รับการนิเทศเพื่อให้เผยแพร่ในโรงเรียน สำหรับปัญหาที่พบได้แก่ ขาดงบประมาณ ความล่าช้าในการส่งสื่อและขาดระบบการรับที่ดี
                ชวลิต บัวรัมย์ (2540) แนวโน้มด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาแบบสื่อสารทางไกลของประเทศไทยในปี พ.. 2550 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 18 ท่าน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
                1. แนวโน้มด้านโทรทัศน์การศึกษา ใช้ดาวเทียม เส้นใยแก้วนำแสง สารเคเบิลเป็นสื่อสัญญาณถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ จะเน้นเสนอเป็นรายการสด นำเอาระบบมัลติมีเดีย Digital Video Disk , Web TV เข้ามาเสริมกับโทรทัศน์โดยการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เนื้อหาเป็นลักษณะ Package ซึ่งจะครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย เครื่องรับโทรทัศน์มีขนาดจอ 29 นิ้วขึ้นไป พร้อมกับมีเครื่องเล่น Video CD และสามารถเชื่อมต่อกับเคเบิลทีวีได้
                2. แนวโน้มด้านโทรศัพท์เพื่อการศึกษา จะเปลี่ยนจากระบบอนาลอกมาใช้ระบบ ISDN ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นการรวมโทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เข้าด้วยกัน เป็นการนำความรู้จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยไม่มีขีดจำกัดด้วยเวลาและระยะทาง อยู่ในรูปของสื่อทันสมัยมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถใช้โทรศัพท์เป็นการเจาะข้อมูลเรียนรู้ด้วยตนเอง
                3. แนวโน้มด้านดาวเทียมเพื่อการศึกษา ทำให้คนไทยเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ได้มากขึ้น โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกมีความเป็นระหว่างประเทศ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม และค่าใช่บริการจะถูกลง ใช้แพร่หลายทั่วประเทศทุกระดับชั้นการศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล
                4. แนวโน้มด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการทำงาน ใช้ในการเรียนการสอนและฝึกอบรมระหว่างมหาวิทยาลัยหรือวิทยาเขตของตนเองที่ขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ การสอนเป็นแบบกลุ่มใหญ่ มีการนำระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ร่วมการประชุมทางไกลในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษามีการใช้น้อยมากครูผู้สอนยังมีความจำเป็นในการสอนอยู่
                5. แนวโน้มด้านอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา มีแหล่งทรัพยากรความรู้หลากหลายในการค้นคว้าจะแพร่หลายเป็นที่นิยมกันกว้างขวางทั่วประเทศ มีบทบาทในการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีการติดตั้งระบบเครือข่ายสารสนเทศภายในองค์กรเพื่อเป็นการรองรับระบบ Video on Demand และระบบเรียกผ่าน CAI on Internet

                จากการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของการศึกษาทางไกลทำให้สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกล ดังต่อไปนี้
               

                แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศึกษา จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ (สุภาณี เส็งศรี, 2543)
                1. จัดการเรียนการสอนตามความพร้อมแบบไม่จำกัดเวลา สถานที่ โดยเน้นปริมาณแต่คำนึงถึงคุณภาพเพื่อมาตรฐานการศึกษา
                2. ปฏิรูปการเรียนรู้โดยมุ่งจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                3. มุ่งพัฒนา จัดหา และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการเรียนการสอนทางไกล เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งวิทยาการอย่างอิสระ
                4. ลดข้อจำกัดทางการศึกษาโดยเฉพาะมุ่งเน้นความเท่าเทียมทางการศึกษาในทุกชุมชนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งลดปัญหาการขาดผู้สอนซึ่งมีความรู้ความสามารถ
                5. เน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และรับผิดชอบต่อสังคม
                6. สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร/สถาบันต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาการทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ

                แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านการบริหารและการจัดการ การศึกษาทางไกลถือได้ว่าเป็นกระบวนการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต จำเป็นต้องมีการจัดระบบการจัดการที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง รัฐควรเน้นในเรื่องการประสานงานและการระดมกำลังทั้งคนและความคิด มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะในปัจจุบันการบริหารและการจัดการยังคงเน้นรูปแบบรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ศูนย์กลางจะเป็นตัวควบคุมและสั่งการไปยังส่วนภูมิภาค ยังไม่มีการกระจายอำนาจที่ดีพอ การประสานงานต่าง ๆ ยังคงเกิดปัญหา อีกทั้งการจัดการศึกษาก็ไม่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น ดังนั้นรัฐจึงควรมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและภูมิภาค ระดมกำลังทั้งคนและความคิดเพื่อนำมาใช้ในการศึกษา มีการใช้ทรัพยากรที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งการบริหารงานแบบนี้จะทำให้ท้องถิ่นและภูมิภาคได้มีโอกาสและมีบทบาทในการกำหนดทิศทางในการบริหารและการจัดการทางการศึกษา ซึ่งการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและภูมิภาคจะสร้างผลดีกว่าการบริหารและการจัดการแบบก่อนที่เน้นศูนย์กลางเป็นหลัก

                แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านงบประมาณ ควรจะมีการเพิ่มงบประมาณในการผลิตวิจัย พัฒนาสื่อและบุคลากร การติดตามผลและการประเมินผล ควรมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบในการจัดสรรงบประมาณ งบประมาณของการศึกษาทางไกลในอนาคตน่าจะได้รับงบประมาณมาจากภาครัฐและภาคเอกชน จึงควรมีการจัดสรรงบประมาณให้มีความเหมาะสม ถูกต้องและยุติธรรมเพื่อที่จะสามารถนำงบประมาณเหล่านั้น ไปพัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีความเหมาะสมและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

                แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านประเภทของสื่อ
                สื่อคอมพิวเตอร์ ระบบ Internet ดาวเทียม และโทรทัศน์ น่าจะเป็นสื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลมากที่สุด ซึ่งสื่อเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทแทนที่สื่อเก่า ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
                แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านบุคลากร ในการศึกษาทางไกล จำเป็นต้องมีบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการศึกษาทางไกล ซึ่งได้แก่
                นักเทคโนโลยี
                นักเทคโนโลยีถือได้ว่ามีบทบาทอย่างมากในการจัดการศึกษาทางไกล เพราะนักเทคโนโลยีจะอยู่ในฐานะ ผู้ผลิต ผู้พัฒนา ผู้ใช้และผู้ให้บริการ
                การศึกษาในปัจจุบันและในอนาคต จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีโอกาสได้เรียน รัฐก็ให้ความสำคัญกับการศึกษา เพราะ คนเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต นักเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาทางไกล และจะมีบทบาทสำคัญมากในอนาคต เพราะ นักเทคโนโลยีอยู่ในฐานะ ผู้ผลิต สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนทางไกล ต้องมีการผลิตสื่อที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียน สื่อการเรียนการสอนที่ดีเรียนแล้วเกิดประสิทธิภาพในการเรียนมากยิ่งขึ้น การเรียนก็จะประสบความสำเร็จ ดังนั้นนักเทคโนโลยีต้องมีการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการศึกษา เรื่องเทคโนโลยี เพื่อนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาสร้าง พัฒนาและปรับปรุง สื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เมื่อผู้เรียนนำไปใช้ในการศึกษาแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
               
                ผู้สอนในการศึกษาทางไกล
                ครูหรือผู้สอนทางไกล มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต เพราะการศึกษาทางไกลได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาและกำลังเป็นที่ยอมรับ เช่น การจัดการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็ถือได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาทางไกลและเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปและในอนาคตจะมีการขาย พัฒนา การศึกษาทางไกลมากขึ้นไปอีก ดังนั้นครูหรือผู้สอนจึงนับความมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการศึกษาไกล ต้องมีการเตรียมการเรียนการสอนที่ดีเพื่อที่จะสามารถสอนผู้สอนให้มีความเข้าใจในบทเรียนนั้น ๆ และยังต้องมีการศึกษาและติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอเพื่อที่จะสามารถนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงและนำมาใช้พัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งแนวโน้มของระบบอินเตอร์เน็ตกำลังเข้ามามีบทบาทในการศึกษาทางไกลเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการสืบค้าหาข้อมูลที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว มีความสะดวกสบายในการใช้งาน หรือจะใช้ E-Mail เป็นเครื่องมือในการติดต่อระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนได้ ครูหรือผู้สอนอาจใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการศึกษาทางไกล อาจจะเป็นการสร้าง Homepage ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน ถ้าหากผู้เรียนเกิดความไม่เข้าใจในการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาเนื้อหาวิชาที่เรียนไปได้ตลอดเวลา หรืออาจจะมีการสอบถามเรื่องที่ไม่เข้าใจกับผู้สอนได้โดยทาง E-Mail หรือทาง Web-Board จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้น
                มหาวิทยาลัยเสมือนจริง
ความหมาย
                ปัจจุบัน มีคำในภาษาต่างประเทศที่มีความหมายคล้ายคลึงกันกับคำว่า Virtual University หลายคำเช่น Virtual Campus, Cyber University, Cyber Campus, Online University เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยได้มีการใช้คำว่า มหาวิทยาลัยเสมือนจริง มหาวิทยาลัยออนไลน์ หรือ มหาวิทยาลัยโทรสนเทศ ซึ่งหมายถึง สถาบันการศึกษาออนไลน์ (Online Institutions) ที่สร้างโอกาสและเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาความรู้ได้ โดยผู้เรียนเป็นผู้กำหนด โดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อเรียนรู้ในเนื้อหาวิชา เพื่อฝึกฝนให้เกิดทักษะ หรือเพื่อสำเร็จการศึกษา อันจะนำไปสู่ปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2544) หรือมหาวิทยาลัยไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่ ในมหาวิทยาลัยเสมือนจริงนั้น ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องทดลอง ห้องสมุด และห้องพบปะสนทนา ล้วนเปิดทำการตลอดเวลา ผู้เรียนสามารถเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจอยู่ในบ้าน ที่ทำงาน หรือที่ใด ๆ ก็ไ
Email
ความหมาย
ลักษณะการใช้งานใน WBI
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างเฉพาะ ผู้ที่เป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ผู้อื่นจะไม่สามารถอ่านได้ (Two Way)
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์ หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยกัน ใช้ส่งการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมาย


Web board
ความหมาย
ลักษณะการใช้งานใน WBI
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน (Three Way)
ใช้กำหนดประเด็นหรือกระทู้ ตามที่อาจารย์กำหนด หรือตามแต่นักเรียนจะกำหนด เพื่อช่วยกันอภิปรายตอบประเด็น หรือกระทู้นั้นทั้งอาจารย์และผู้เรียน


Chat
ความหมาย
ลักษณะการใช้งานใน WBI
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน (Three Way) โดยการสนทนาแบบ Real Time มีทั้ง Text Chat และ Voice Chat
ใช้สนทนาระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ในห้องเรียนหรือชั่วโมงเรียนนั้น ๆ เสมือนว่ากำลังคุยกันอยู่ในห้องเรียนจริง ๆ


ICQ
ความหมาย
ลักษณะการใช้งานใน WBI
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน (Three Way) โดยการสนทนาแบบ Real Time และ Past Time
ใช้สนทนา ระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ในห้องเรียนเสมือนว่ากำลังคุยกันอยู่ในห้องเรียนจริง ๆ โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องอยู่ในเวลานั้น ๆ ICQ จะเก็บข้อความไว้ให้ และยังทราบด้วยว่า ในขณะนั้นผู้เรียนอยู่หน้าเครื่องหรือไม่


Conference
ความหมาย
ลักษณะการใช้งานในWBI
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน (Three Way) แบบ Real Time โดยที่ผู้เรียนและอาจารย์ สามารถเห็นหน้ากันได้โดยผ่านทางกล้องโทรทัศน์ที่ติดอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสอนฝ่าย
ใช้บรรยายให้ผู้เรียนกับที่อยู่หน้าเครื่องเสมือนว่ากำลังนั่งเรียน อยู่ในห้องเรียนจริง ๆ




Electronic Home Work
ความหมาย
ลักษณะการใช้งานในWBI
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ เป็นเสมือนสมุดประจำตัวนักเรียน โดยที่นักเรียนไม่ต้องถือสมุดการบ้านจริง ๆ เป็นสมุดการบ้านที่ติดตัวตลอดเวลา
ใช้ส่งงานตามที่อาจารย์กำหนดเช่นให้เขียนรายงานโดยที่อาจารย์สามารถเปิดดู Electronic Home Work ของนักเรียนและเขียนบันทึกเพื่อตรวจงานและให้คะแนนได้ แต่นักเรียนด้วยกันจะเปิดดูไม่ได้



รูปแบบของเว็บเพื่อการฝึกอบรม
                การใช้เว็บในการฝึกอบรมก็ต้องคำนึงถึงคุณลักษณะของเว็บเป็นสำคัญเมื่อการอบรมนั้นไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอบรมในห้องฝึกอบรม แต่เป็นการฝึกอบรมโดยการสื่อสารทางไกล จะทำอย่างไรให้การฝึกอบรมผ่านเว็บมีคุณภาพและประสิทธิภาพเท่าเทียม หรือดีกว่าการฝึกอบรมในห้องฝึกอบรมอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต ปรัชญนันท์ นิลสุข (2542) ได้กำหนดกรอบคิดหลักของการฝึกอบรมผ่านเว็บ (WBT) ดังรูปที่ 1 ซึ่งจะต้องคำนึงถึงแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1. การฝึกอบรมผ่านเว็บ ในด้านการให้การศึกษา นั่นคือ การฝึกอบรมผ่านเว็บ จะอยู่ในกรอบ 3 ประการคือ
   1.1 เวิล์ด ไวด์ เว็บ (World Wild Web) การฝึกอบรมผ่านเว็บเป็นส่วนหนึ่งของระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องอยู่ในกรอบของเวิล์ด ไวด์ เว็บ
   1.2 การศึกษาทางไกล (Distance Education) การฝึกอบรมบนเว็บเป็นการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการจัดการศึกษาทางไกล ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในกรอบของการศึกษาทางไกล
   1.3 การพัฒนาระบบการสอน (Instructional System Development) การฝึกอบรมบนเว็บอยู่ในกรอบของ WWW เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทางไกล การฝึกอบรมก็ต้องมีการออกแบบและพัฒนาระบบเพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพจึงต้องอยู่ในกรอบของการพัฒนาระบบการสอน
2. การฝึกอบรมผ่านเว็บในด้านการพัฒนาคน นั่นหมายความว่า การฝึกอบรมผ่านเว็บก็จะอยู่ในกรอบ 3 ประการเช่นกัน คือ
                    2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคนโดยเว็บเป็นการพัฒนาในยุคสังคมสารสนเทศ ซึ่งภายในเว็บซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นฐานข้อมูลใหญ่ที่สุดในโลก การฝึกอบรมผ่านเว็บจึงเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมสารสนเทศโดยมี WWW เป็นเครื่องมือจึงอยู่ในขอบเขตเดียวกัน
                    2.2 การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) เป็นการฝึกอบรมที่มุ่งให้ผู้อบรมได้เรียนรู้ตามความสนใจในสภาพของเครือข่ายการเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลา ซึ่งอยู่ในการศึกษาในแบบทางไกลจึงอยู่ในขอบเขตเดียวกัน
                    2.3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) เนื่องจากการฝึกอบรมเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เน้น 3 ด้าน คือ การฝึกอบรม การศึกษาและการพัฒนา จึงจัดกรอบนี้ในกลุ่มเดียวกับการพัฒนาระบบการสอนซึ่งไม่อาจแยกจากกันได้



การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

รูปที่ 1 แบบจำลองแนวคิดการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Model of Web-Based Training)

                ดิสโคล (Driscoll, 1997) ได้ศึกษาการนำเว็บมาใช้ในการฝึกอบรม มี 2 รายการ คือ แบบที่เป็นตัวหนังสืออย่างเดียว และแบบมัลติมีเดีย ผลการศึกษาการออกแบบการฝึกอบรมเวิล์ด ไวด์ เว็บ พบว่าแบบตัวหนังสืออย่างเดียว มีเครื่องมือ ได้แก่ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) กระดานข่าว (Bulletin Boards) การถ่ายโอนโปรแกรม และแบบมัลติมีเดีย มี 4 ชนิด คือ การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web Computer Based Training : WBT) การฝึกอบรมในหน่วยงาน (Web Based Employee Performance Support : EPSS) การฝึกอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงอบรมต่างเวลากัน (Asynchronous Virtual
Classroom) และการอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงอบรมในเวลาเดียวกัน (Synchronous Virtual Classroom) โดยมีตารางความแตกต่างของการออกแบบในรูปของมัลติมีเดีย 4 ชนิด ดังนี้

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554



บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา
นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ
ส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ การเรียกใช้ การประมวลผล และการคิดคำนวณ ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก เครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) การจองตั๋วดูภาพยนตร์ การลงทะเบียนเรียนในโรงเรียน
เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล
เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก นักเรียนจะได้พบกับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก ดังนี้
§  การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ในการสอบแข่งขันที่มีผู้สอบจำนวนมาก ก็มีการใช้ดินสอระบายตามช่องที่เลือกตอบ เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code) พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกันการใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรวบรวมwbr>wb
§  การประมวลผล ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี หรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ หรือจัดการคัดแยกข้อมุลที่จัดเก็บนั้น
§  การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น
§  การทำสำเนา เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การทำสำเนาจะทำได้ง่าย และทำได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นอุปกรณ์ช่วยในการทำสำเนา จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เรามีเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จานบันทึก ซีดีรอม ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก
§  การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่จะส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละมาก ๆ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท ตั้งแต่โทรเลข โทรศัพท์ เส้นใยนำแสง เคเบิลใต้น้ำ คลื่นวิทยุไมโครเวฟ ดาวเทียม เป็นต้น
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น